รีโนเวตทาวน์โฮม การรีโนเวตใหม่นั้นเป็นการเก็บโครงสร้างเดิม ของตัวบ้านไว้ แล้วมีการซ่อมแซม ตกแต่งเพิ่มเติม ซึ่งข้อดีของ การซื้อทาวน์เฮาส์มารีโนเวทนั้น นอกจากจะได้ทำเลที่ถูกใจแล้ว ยังได้บ้านในสไตล์ ที่ถูกใจอีกด้วย เพราะสามารถรีโนเวท ได้ตามสไตล์ที่ชอบ ไม่ว่าจะเป็นสไตล์โมเดิร์น มินิมอล หรือว่าโคซี่ ที่สำคัญอีกหนึ่งข้อดีของ การรีโนเวททาวน์เฮาส์ยังช่วย ค่าใช้จ่ายได้มากกว่า การสร้างบ้านใหม่ แถมยังใช้เวลาน้อยอีกด้วย ไม่ต้องรอนานก็สามารถเข้าอยู่ได้
รีโนเวตทาวน์โฮม
เมื่อตึกแถวและทาวน์เฮ้าส์ ที่เคยอยู่ตั้งแต่เด็กมีสภาพเก่าโทรม อีกทั้งต้องการปรับเปลี่ยน เพื่อรองรับสมาชิกใหม่ หรือบางคนอยากปรับเป็นคาเฟ่ และโฮมออฟฟิศ ก็ถึงเวลาของการ รีโนเวททาวน์เฮ้าส์ กัน แต่ตึกแถวและทาวน์เฮ้าส์ มีข้อจำกัดหลายอย่างที่ต่างจากบ้านเดี่ยว
แบบที่ 1 รีโนเวททาวน์โฮม สดใสกว่าเดิม สว่างกว่าเก่า
เมื่อคิดถึงบ้านทาวน์โฮม ผู้อ่านคิดถึงอะไร บ้านหน้าแคบที่มีผนังติดกันกับบ้านหลังอื่น บ้านที่ไม่มีช่องหน้าต่างด้านข้างหรือบ้านที่ไม่มีพื้นที่สวนให้ผ่อนคลาย หลายท่านอาจคิดเช่นนี้ แต่บ้านทาวน์โฮมสมัยใหม่ต่างไป มีดีไซน์และการตกแต่งที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตมากขึ้นกว่าเดิม
สังเกตได้จากทาวน์โฮมในเมืองหลาย ๆ หลัง ที่ดีไซน์ภายในให้อยู่สบายไม่ต่างจากบ้านเดี่ยว และสำหรับทาวน์โฮมสองชั้นอายุหลายสิบปี ขนาด 120 ตารางเมตรหลังนี้ ได้ทำการรีโนเวทจากบ้านทึบกลายเป็นบ้านสว่าง ใช้งานได้คุ้มและอยู่สบาย เฉกเช่นบ้านทาวน์โฮมรูปแบบใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยม บ้านใหม่ภูเก็ต
รีโนเวททาวน์โฮมสองชั้น จากทึบเป็นสว่าง แรกเริ่มเดิมทีทาว์โฮมสองชั้นหลังนี้ ไม่ช่องแสงน้อย ทำให้ชั้นล่างของบ้านทึบและชวนให้อึดอัด สถาปนิกผู้ออกแบบ จึงทำการเปิดช่องแสงและจัดผังบ้านใหม่ ให้ดูปลอดโปร่งมากขึ้น ทุบผนังกั้นห้องออก เพื่อเปิดกว้างลักษณะ Open Plan และเจาะช่องแสงตรงผนังด้านหน้าบ้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ติดผนังกระจกบานสไลด์ แสงสว่างจะสาดส่องเข้าไปจากจุดนี้ รวมถึงเป็นช่องรับลมจากภายนอกด้วย
เปลี่ยนตำแหน่งบันได ทาวน์โฮมโปร่งกว่าเดิม เปลี่ยนจากบันไดวนเป็นบันไดตรงแบบโปร่ง ช่วยประหยัดพื้นที่กว่าเดิม และทำให้มีพื้นที่ด้านล่างไว้จัดสวนหย่อมภายในบ้าน โครงสร้างเหล็กถูกนำมาใช้ในการรีโนเวท ทำให้บ้านแข็งแรงและยืดหยุ่น
แต่หากเป็นเหล็กสีดำทั้งหลัง อาจเพิ่มความเข้มและความทึบให้กับบ้านได้ จึงเลือกใช้สีเหลืองเพื่อเติมเต็มความสนุกและความสดใส บ้านจึงดูมีชีวิตชีวาอยู่เสมอ ส่วนพื้นบ้านเป็นปูนเปลือย นอกจากประหยัดค่าใช้จ่ายได้แล้ว ยังเพิ่มความเท่ได้อย่างน่าสนใจอีกด้วย
สวนเล็ก ๆ ของ บ้านทาวน์โฮม พื้นที่สวนไม่จำเป็นต้องใหญ่ แต่ต้องรับแสงธรรมชาติได้เพียงพอต่อความต้องการ หลังบ้านทาวน์โฮมจัดเป็นสวนหย่อม สนามหญ้าสลับกับบล็อกปูพื้น และปลูกต้นไม้ฟอร์มสวย 1 ต้นไว้ให้ร่มเงา ไม่ลืมที่จะเปิดผนังด้านหลังให้โปร่งด้วยการใช้กระจก สามารถนั่งชมสวนจากภายในบ้านได้อย่างเพลิดเพลิน การเปิดผนังกระจกยังมีข้อดีอีกหนึ่งอย่าง คือช่วยให้พื้นที่ขนาดเล็กภายในบ้านดูกว้างขวางและไม่คับแคบ ส่งผลให้อยู่สบายตลอดทั้งวัน
ด้วยขนาดที่ดินและพื้นที่ใช้สอยที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้บ้านทาวน์โฮมอาจจะไม่ใช่บ้านในฝันของใครหลายคน แต่หากทำการตกแต่งใหม่ เปิดช่องแสง ช่องลมให้พอเหมาะ มีสวนสีเขียวให้ความสบายใจ ทาวน์โฮมหนแคบที่เคยมองข้าม อาจกลายเป็นบ้านที่อยู่แล้วมีความสุขมากกว่าที่คิดก็เป็นไป
รีโนเวททาวน์โฮม คนกับบ้านหายใจในจังหวะเดียวกัน
บ้าน ที่ดีควรมีส่วนในการเติมเต็มความสัมพันธ์และความชิดใกล้ของสมาชิกแต่ละคน ในขณะเดียวกันตัวอาคารก็ต้องตอบโจทย์การใช้งานและสภาพแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน แต่เมื่อเราพบว่าสภาพแวดล้อมในบ้านไม่ลงตัว ก็ลองมองหาวิธีในการปรับและเปลี่ยนให้ดีขึ้น อย่างเช่น บ้านของคุณนีรรัตน์ เหลืองสิวากุล (ซวง) และคุณแชมป์ คู่สามีภรรยาที่เป็นนักจิตวิทยาเด็ก
ทั้งคู่เคยมีเรือนหอมาแล้วหลังหนึ่ง แต่เมื่อเข้าอยู่อาศัยจริงกลับพบว่า บ้านร้อนอบอ้าว เพราะกระแสลมไม่ไหลเข้าบ้าน ตลอดจนภายในบ้านยังมีการแบ่งซอยเป็นห้องเล็กห้องน้อยเยอะเกินไป ผนังเหล่านั้นไม่ได้แยกพื้นที่ใช้งานเท่านั้น แต่ยังปิดกั้นปฏิสัมพันธ์ด้วย เพราะแต่ละคนต่างคนต่างอยู่คนละมุมของตัวเอง ทำให้รู้สึกว่าบ้านหลังนี้ไม่อบอุ่นเป็นครอบครัวเท่าที่ควร ทั้งคู่จึงมองหาบ้านมือสองที่อยู่ใกล้กับบ้าน
ก่อนปรับปรุง : เป็นบ้านแถวสามชั้น 1 คูหาหลังมุมสุด พื้นที่อาคาร 200 ตารางเมตร พื้นที่ดิน 125 ตารางเมตร ตั้งอยู่ในซอยกาญจนาภิเษก 008 แขวงบางแค เขตบางแค กรุงเทพฯ สภาพเดิมค่อนข้างเก่า มีหลังคาโรงรถคลุมถึงประตูรั้วบ้าน ชั้นบนมีระเบียงซึ่งไม่ค่อยได้ออกมาใช้งานเพราะหันหน้าออกถนน ภายในบ้านค่อนข้างมืด โครงการวิลล่า
หลังปรับปรุง : ภายนอกเปลี่ยนเปลือกบ้านให้สดใส เป็นผืนฟาซาดสีขาวที่ใช้บล็อกช่องลมรูปสามเหลี่ยมก่อเป็นแพทเทิร์นบริเวณชั้นบน ซึ่งไม่ใช่เป็นการตกแต่งเพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่คิดเผื่อเรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัยและเรื่องการระบายอากาศตามธรรมชาติด้วย เพราะฟาซาดช่องลมจะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้คนภายนอกมองเห็นพื้นที่ใหม่ที่ค่อนข้างโล่งภายในบ้าน นอกจากนี้ช่องทึบสลับโปร่งยังช่วยกรองและกันความร้อนจากแสงแดด ลักษณะผนังที่เป็นรูพรุนจะไม่ขวางทิศทางของกระแสลม ตอบโจทย์เรื่องการอยู่สบายและเป็นบ้านที่หายใจไปพร้อมกับธรรมชาติ
ภายในก่อนปรับปรุง : จะเห็นว่าอาคารเป็นทาวน์โฮมที่ปิดผนังทึบทั้งสองด้าน ระหว่างกลางอาคารเต็มไปด้วย ผนังแบ่งซอยพื้นที่ใช้สอยออกเป็นห้อง ๆ เพราะบ้านหลังนี้เคยถูกปรับปรุงทำเป็นสำนักงานมาก่อน ทำให้บ้านดูมืดมาก กระแสลมไม่สามารถวิ่งผ่านแต่ ละห้องได้ จึงทำให้เกิดความอับชื้น
ภายในหลังปรับปรุง : สถาปนิกมองหาแนวทางแก้ปัญหา เพื่อให้บ้านอยู่สบายขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการสร้างช่องเปิดและช่องแสงใหม่ ๆ เริ่มจากการการเจาะรื้อผนังกั้นห้องเดิมที่ไม่จำเป็นออก เพื่อเชื่อมต่อสเปซให้บ้านโล่งที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเป็นการเปิดโล่งทั้งแนว ระนาบและแนวตั้ง เมื่อไม่มีผนังกั้นก็ไม่มีอปุสรรคขวางทิศทางลม
และสามารถดึงกระแสลมธรรมชาติให้สามารถไหลเข้าไป ในทุกส่วนของบ้านได้ในลักษณะของ Cross ventilation หรือการระบายอากาศออกทางช่องฝั่งตรงข้ามของอาคาร โชคดีที่บ้านนี้อยู่หลังมุมสุด ทำให้มีที่ว่างด้านข้างที่สามารถเพิ่มช่องเปิด เป็นประตูขนาดใหญ่ได้หลายบาน เปิดมุมมองไปยังสวนที่จัดเอาไว้ภายนอก และรับแสงธรรมชาติจาก ด้านข้างของบ้านได้มากขึ้น จนลืมไปเลยว่าบ้านนี้เคยมืดมาก ๆ
ข้อจำกัดที่เหมือนๆ กันในบ้านลักษณะทาวน์โฮม หรือบ้านที่มีตั้งแต่สองชั้น ขึ้นไปอีกประการหนึ่ง คือ โครงสร้างของพื้นเพดานจะเทปิดระหว่างชั้นทึบทั้งหมด มีช่องว่างเพียงโถงบันไดเท่านั้น ซึ่งก็มักจะถูกปิดด้านข้างด้วยเช่นกัน ดังนั้นระหว่างคนที่ใช้ชีวิตอยู่คนละชั้น จึงแทบไม่มีโอกาสในการมองเห็นหรือพูดคุยกันเลย บ้านหลังนี้ก็เช่นเดียวกัน
สถาปนิกจึงแก้ปัญหานี้ด้วยการยอมเสียพื้นที่ ส่วนหนึ่งของพื้นชั้นสองเจาะ เป็นช่องว่างโถงสูง (Double Space) ให้แต่ละชั้นเปิดโล่งเชื่อมต่อ ถึงกันได้ จากชั้น 1 สามารถเงยหน้าขึ้น ไปพูดคุยกับคนที่อยู่บนชั้น 2 และ 3 ได้ นอกจากนี้พื้นที่ที่เป็น Double Volume ยังเอื้อให้ความร้อนลอยตัวขึ้นและไหลออกจากอาคารได้ดี
รอบช่องว่าง Double Space รายล้อมด้วยฟังก์ชันต่าง ๆ ที่กั้นด้วยกระจกใส จึงไม่เป็นอุปสรรคของการมองเห็น ในขณะที่คนหนึ่งกำลัง ใช้ชีวิตอยู่ชั้นบน ก็ยังสังเกตเห็นความเคลื่อนไหวในชั้นล่าง ทำให้รู้สึกว่าบ้านไม่เหงา คนในบ้านมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น วัสดุและสีที่ใช้การในกปรับปรุงบ้านใหม่ ก็มีส่วนอย่างมากในการสร้างบรรยากาศ ปรับเปลี่ยน Mood&Tone ของบ้านให้ต่างจากเดิมอย่างชัดเจน โดยสถาปนิกเลือกใช้สีขาวเป็นสีพื้นหลังในบริเวณกว้าง ตัดด้วยวัสดุลายไม้หลากเฉดสี ผสมผสานกับกระจกใส ที่เพิ่มมุมองอิสระให้บ้าน จึงทำให้รู้สึกได้ถึงความสว่าง อบอุ่น และผ่อนคลายได้ในทุกพื้นที่
แม้ว่าจะเพิ่มช่องแสงด้านข้างแล้ว ก็อาจจะยังไม่พอ สถาปนิกจึงเพิ่มช่องทางรับแสงธรรมชาติ จากด้านบนผ่านสกายไลฟ์ ในลักษณะของ Daylight ในส่วนพื้นที่สาธารณะและเหนือบันไดขึ้นสู่ชั้นบน ช่วยเกลี่ยให้ทุกส่วนของบ้าน มีแสงสว่างสม่ำเสมอ ภาพรวมหลังปรับปรุงจึงทำให้บ้าน บ้านไม่ขาดแสง ไม่ขาดลม และไม่ขาดพื้นที่ ที่รายล้อมด้วยความรัก ตรงกับความตั้งใจที่ เจ้าของบ้านต้องการในทุกข้อ