บ้านสองชั้นสไตล์ญี่ปุ่น

บ้านสองชั้นสไตล์ญี่ปุ่น บ้านสไตล์ญี่ปุ่น คือ แบบบ้านที่มีความโดดเด่นทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่น การตกแต่งทั้งภายใน และภายนอกจะมีความเรียบง่าย โปร่งสบาย ให้ความสำคัญกับธรรมชาติ และเน้นพื้นที่ใช้สอยที่เป็นสัดส่วน ดังนั้นถึงแม้ว่าพื้นที่ของตัวบ้านจะไม่ได้ใหญ่มาก ไม่ได้มีพื้นที่ใช้สอยเยอะแยะมากมาย แต่หากมีการตกแต่งตามแบบบ้านสไตล์ญี่ปุ่น ก็สามารถทำให้อยู่สบาย และพักผ่อนอย่างเต็มที่ได้

บ้านสองชั้นสไตล์ญี่ปุ่น

ปัจจุบันรูปแบบบ้านถือว่ามีความสำคัญ ต่อจิตใจผู้อยู่อาศัยมาก เรื่องการออกแบบตกแต่งภายใน จึงสำคัญ โดยเฉพาะหนึ่งแบบบ้านที่คนไทยนิยมกันมากในปัจจุบันก็คือ “บ้านสไตล์ญี่ปุ่น” ซึ่งถือเป็นหนึ่งแบบบ้านที่สร้างง่ายและไม่ยุ่งยากจากความเรียบง่ายทั้งภายในและภายนอก

จัดบ้านสไตล์ญี่ปุ่นด้วยการตกแต่งภายใน

บ้านสไตล์ญี่ปุ่นนอกจากจะทำให้สามารถ พักผ่อนได้อย่างสงบตามวิถี Zen แล้ว การตกแต่งบ้านสไตล์ญี่ปุ่น ยังเป็นการตกแต่งอีกหนึ่งสไตล์ที่ช่วยประหยัดงบ ประมาณในการแต่งบ้านด้วย ลองมาดูว่าบ้านสไตล์ญี่ปุ่น มีการตกแต่งภายในเป็นอย่างไร

ห้องนั่งเล่นของบ้านสไตล์ญี่ปุ่น

บ้านสองชั้นสไตล์ญี่ปุ่น

มุมแรกของบ้านที่จะบ่งบอกการออกแบบ ภายในว่าบ้านของเราเป็นบ้านสไตล์ญี่ปุ่น ก็คือห้องนั่งเล่น มุมห้องนั่งเล่นสไตล์ญี่ปุ่นส่วนใหญ่ ตามต้นตำรับหลัก ๆ จะประกอบไปด้วย พื้นบ้านที่ยกระดับขึ้นมาจากตัวบ้าน และเชื่อมต่ออยู่กับชานบ้านโดยสามารถเปิดบานเลื่อนญี่ปุ่นออก แล้วมองเห็นวิวทิวทัศน์ของธรรมชาติ รอบบ้านชัดเจน

ส่วนบริเวณโต๊ะกลางหรือที่นั่ง ก็จะเป็นเฟอร์นิเจอร์ระดับต่ำไม่สูงมาก เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานแบบนั่งพื้น ถ้าจะให้ดีพื้นบริเวณใต้โต๊ะกลางมีการดรอป พื้นลงไปให้สามารถนั่งห้อย ขาได้ก็จะประยุกต์ห้องนั่งเล่น ของบ้านสไตล์ญี่ปุ่นนี้ให้เหมาะกับผู้สูงอายุได้ด้วย
หากใครที่ตัวบ้านไม่ได้ถูกยกขึ้น มาก็สามารถเน้นการตกแต่ง ภายในด้วยสีโทนเอิร์ธ ใช้ฉากกั้นแบบนญี่ปุ่น ปูพื้นด้วยเสื่อญี่ปุ่น และตกแต่งด้วยโคมไฟ ญี่ปุ่นเพิ่มเข้าไปหน่อย เน้นพื้นที่ให้เปิดกว้าง พร้อมทั้งเน้นให้แสงธรรมชาติ เข้ามาในห้อง ก็ถือเป็นการประหยัดเงินในเรื่อง การตกแต่งแถมยังได้บรรยากาศ ห้องนั่งเล่นแบบบ้านญี่ปุ่นแท้ ๆ เลยด้วย

ห้องครัวของบ้านสไตล์ญี่ปุ่น

บ้านสองชั้นสไตล์ญี่ปุ่น

สำหรับการเปลี่ยนอารมณ์ ห้องครัวให้ภายในครัว กลายเป็นบ้านสไตล์ญี่ปุ่น ก็ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ สามารถบ่งบอกเอกลักษณ์ของความ เป็นญี่ปุ่นได้ชัดเจนเช่นกัน เพราะครัวญี่ปุ่นนั้น มีเอกลักษณ์มาก ๆ
โดยส่วนใหญ่ห้องครัว แบบญี่ปุ่นถ้าเป็นสมัยใหม่ จะจัดห้องครัวให้เชื่อมต่อกับ บริเวณห้องนั่งเล่น เพื่อเปิดฟลอร์ของห้องให้ดูกว้างเสมือนเป็นห้องเดียวกัน แล้วใช้การตกแต่งของ ที่มีกลิ่นอายของ บ้านสวย บ้านสไตล์ญี่ปุ่นดีไซน์พื้นที่ห้องนั่งเล่นและห้องครัวไปในทิศทางเดียวกัน

ส่วนในเรื่องของภายใน ครัวเองชาวญี่ปุ่นส่วน ใหญ่จะไม่เพิ่มเติมอะไรในครัวมาก เคาท์เตอร์ครัวจะเน้น ให้มีพื้นที่ใช้สอยในการเตรียมครัวขนาดใหญ่ และมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบ อาหารเพียงเตาแก๊ส ต้องย้ำว่าหากอยาก ได้รับกลิ่นอายของบ้านสไตล์ญี่ปุ่นจริง ห้องครัวจะต้องใช้เตา แก๊สแบบธรรมดา เพื่อประกอบอาหารที่ มีรสดังเดิมอย่างแท้จริง ที่เหลือก็จะมีเพียงซิงค์ล้างจานหรือเตาอบเล็ก ๆ เท่านั้น เพื่อแสดงความเรียบง่ายของวิถีชีวิต

ห้องนอนของบ้านสไตล์ญี่ปุ่น

ห้องนอนของบ้านสไตล์ญี่ปุ่น

มาถึงการตกแต่งห้องนอน ตามแบบฉบับของ บ้านสไตล์ญี่ปุ่น เองก็ยังคงคอนเซปต์ เหมือนการตกแต่งห้องอื่นๆ โดยการใช้สีโทนเอิร์ธ และเฟอร์นิเจอร์ หรือ ส่วนประกอบต่างๆ ของห้องด้วยวัสดุที่เป็นไม้ เน้นความเรียบง่าย และไม่ต้องการการตกแต่งอะไรมากมาย อาจจะมีการเพิ่มรายละเอียด ของห้องให้มีความเป็นธรรมชาติ ด้วยการตกแต่งภาพสีน้ำลายไม้ไผ่ หรือรูปน้ำตกเข้าไปในห้อง

หากอยากกั้นห้องพื้นที่ต่าง ๆ ดูเป็นสัดส่วนมากขึ้นก็ใช้ ที่กั้นห้องแบบญี่ปุ่น ที่เวลาเปิดใช้งานเป็นบาน เลื่อนไม่มีรัศมีการเปิดเข้า-ออก ทำให้ไม่เปลืองพื้นที่ แถมยังมีราคาไม่แพงด้วย

ส่วนเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ อาทิ เตียง ก็เน้นเฟอร์นิเจอที่เป็นไม้ มีขนาดไม่สูงมาก เน้นความโปร่งโล่ง ของห้องนอนให้มีความสบายที่สุด พร้อมทั้งจัดวาง Layout ต่าง ๆ ของห้องให้มีแสงธรรมชาติเข้ามาในห้องมากที่สุด เพียงเท่านี้ก็จะได้ห้องนอนในแบบฉบับของ บ้านสไตล์ญี่ปุ่นไม่ยาก บ้านแฝด

นอกจากนั้นเพื่อเน้นความเป็นธรรมชาติ ภายในห้องอาจจะมีการนำ ไม้ประดับที่สามารถปลูกในบ้าน และไม่ต้องการการดูแลอะไรมากมาตกแต่งในห้องเพิ่มได้ อาจมีการตกแต่งผนังโล่ง ๆ ด้วยระแนงไม้ไผ่ แซมด้วยไม้ประดับเพื่อเสริมความเป็นธรรมชาติให้ห้องนอนกลาย เป็นห้องนอนสไตล์ญี่ปุ่น นอกจากจะทำให้ห้องนอนดูสวยงามแล้ว ก็ยังช่วยในเรื่องของการพักผ่อนด้วย

ไอเดียบ้านญี่ปุ่นสองชั้น อยู่พอดี อยู่ดีพอ

บ้านญี่ปุ่นสองชั้น อยู่พอดี อยู่ดีพอ

บ้านสไตล์ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีกลิ่นอายของวัฒนธรรมตัวเอง สอดแทรกไปในทุกสรรพสิ่ง ทั้งสื่อทางทีวี การ์ตูน อาหาร เสื้อผ้า ไม่เว้นแม้แต่สถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์แบบ Japanese/Zen style เป็นสไตล์ที่เปล่งประกายความละมุน อบอุ่น เรียบง่ายและสงบ อย่างบ้านที่จะนำเสนอในครั้งนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นที่เอามาประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัย ด้วยการเติมแต่งสไตล์โมเดิร์นเข้าไป บวกกับรายละเอียดของการออกแบบ ทั้งภายนอกภายในที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และบริบทของละแวกบ้านเป็นหลัก ทำให้เป็นบ้านที่ทั้งเท่ห์ และแสนละมุนมาก

บ้านสองชั้นตั้งอยู่ใน ย่านที่ผสมผสาน ระหว่างอุตสาหกรรมกับการเกษตร และกำลังพัฒนารถไฟฟ้าความเร็วสูง ทำให้ความเป็นอยู่ของคนแถว นี้ค่อนข้างเปลี่ยนไป จนเกิดการเรียกร้องหาความใกล้ชิดจากธรรมชาติ จึงกลายมาเป็นโจทย์ให้สถาปนิกนำมาออกแบบ ด้วยแนวคิดโดยรวมของบ้านคือ “อยู่พอดีและดีพอ” สำหรับครอบครัว และต้องคงสไตล์แบบญี่ปุ่นไว้แบบ Modern Japanese style ใช้หลังคาทรงจั่วแบบหักทำให้ดู ไม่โมเดิร์นจนเกินไป ใช้แผ่นเหล็กสีดำตกแต่งภายนอก ไม่ดิบเกินไปและให้ความอบอุ่นนุ่มนวล พื้นบริเวณนอกบ้านโรยด้วยกรวด หินซึ่งดูเกลี้ยงเกลาสบายตา

บ้านสไตล์ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีกลิ่นอายของวัฒนธรรมตัวเอง สอดแทรกไปในทุกสรรพสิ่ง ทั้งสื่อทางทีวี การ์ตูน อาหาร เสื้อผ้า

จัดสัดส่วนของแต่ละห้องแบบรวมกลุ่ม (cluster) ตรงส่วนกลาง ห้องต่าง ๆ ปิดกั้นด้วยผนัง เชื่อมต่อรอบ ๆ ด้วยพื้นปูนโล่ง ๆ ลักษณะแบบนี้มีชื่อเรียกว่า “doma” เป็นลักษณะที่มีเฉพาะของบ้านญี่ปุ่น เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนไหลเวียนกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในบ้าน ใช้ผนังสีสว่างแบบเรียบ เพื่อลดความอึดอัด เชื่อมถึงชั้นสองแบบ open plan เพื่อช่วยในการถ่ายเทอากาศ และรับแสงจากธรรมชาติ เพิ่มเติ่มกลิ่นอายแบบญี่ปุ่น ให้เข้มข้นด้วยห้องนั่งเล่นแบบ Japanese Style ภายในห้องปูพื้นด้วยสีโทนเดียวกับเสื่อทาทามิ (เสื่อที่ใช้วัดขนาดพื้นของบ้านญี่ปุ่น) ประตูบานเลื่อนโครงไม้ ยกพื้นลอยเล็กน้อย แสดงถึงวัฒนธรรมการอยู่อาศัยได้อย่างดีเยี่ยม

ชั้นสองเพดานไม่สูงมาก แต่ทำให้ดูโปร่งโล่งด้วย การใช้กระจกบานใหญ่ เพื่อรับแสงได้อย่างเต็มที่ ใช้โครงเหล็กเส้นสายบาง ๆ ทำราวบันได เพดานสีครีมช่วยส่งเสริมให้ดูสว่าง เรียบง่ายด้วยเฟอร์นิเจอร์แบบ retro น้อยชิ้น ซ่อนเครื่องปรับอากาศในผนัง ไม่รกสายตา อบอุ่นละมุนละไมแบบญี่ปุ่นยุค 2000

ครัวเล็กเนื่องจากใช้เพียงครอบครัวเดียว ไม่เน้นเคาท์เตอร์แบบติดถาวรแต่ทำให้โล่ง ง่ายต่อการปรับเปลี่ยนเคลื่อนย้าย โครงเพดานที่ลาดเอียงช่วยสร้างมิติให้ ห้องได้อีกแบบห้องนอน ถึงแม้ไม่ได้รับแสงมากแต่ก็อบอุ่น และพร้อมต่อการล้มตัวลงนอน ไฟเพดานที่เหมือนไม่เป็นระเบียบให้แสงไฟสลัว ๆ กระทบสันปกหนังสือ ได้อารมณ์ของความผ่อนคลาย

คนญี่ปุ่นชอบใช้รถไฟฟ้า รถเมล์ จักรยาน มอเตอร์ไซค์ หรือไม่ก็เดิน บ้านหลังนี้จึงตอบโจทย์พื้นที่สำหรับอุปกรณ์ outdoor และอุปกรณ์สำหรับรถของแต่ละคนในบ้าน เป็นการออกแบบให้สามารถใช้พื้นที่ ได้อย่างคุ้มค่าเป็นทำให้ทุกส่วนของบ้านอัดแน่นไปด้วยเสน่ห์ แห่งวัฒนธรรมอาทิตย์อุทัย