บ้านสไตล์มินิมอล ญี่ปุ่น

บ้านสไตล์มินิมอล ญี่ปุ่น Minimal Japanese Style คือมีความเรียบง่าย มีความโปร่งโล่ง ชวนให้ผ่อนคลาย เน้นการสร้างช่องเปิด เพื่อรับแสงธรรมชาติ และมีองค์ประกอบเส้นสาย ที่มองแล้วสะอาดสบายตาแบบเซน เพิ่มความอบอุ่นใกล้ชิด ไม่แห้งแล้งแข็งกระด้าง ซึ่งเป็นแนวทางการออกแบบบ้าน ที่คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจอย่างมาก บ้านตัวอย่าง

แบบที่ 1 บ้านญี่ปุ่นโมเดิร์นมินิมอล

บ้านสไตล์มินิมอล ญี่ปุ่น

วัฒนธรรมญี่ปุ่นนั้นน่าตื่นเต้น และรุ่มรวยด้วยเอกลักษณ์ โดยเฉพาะบ้านทั้งยุตเก่าที่สวยงาม ประณีตในงานฝีมือ หรือบ้านใหม่ที่เผย ให้เห็นความกล้าทดลองของพวกเขาแม้ใน สิ่งที่ธรรมดาที่สุด อย่างการการออกแบบบ้านที่เรียบง่าย ก็ไม่ไดง่ายแบบไม่มีรายละเอียดอะไรเลย เพราะในความน้อยก็ยังขึ้นชื่อว่ามาพร้อมกับฟังก์ชัน การทำงานที่ตรงไปตรงมา เหมือนเช่น บ้านในอากิชิมะโดย Office M-Saแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึง ความเรียบง่ายภายนอกทั้งสีและวัสดุ แต่ภายในกลับซ่อน แนวคิดให้สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบ และการใช้งานในอนาคตได้อย่างคาดไม่ถึง

Office m-sa ออกแบบ “Wakuwakusuru” Tsukuri no House บ้านพื้นที่ 110 ตารางเมตร ที่ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น การออกแบบเริ่มต้นด้วยการสนทนากับเจ้าของบ้าน ที่มีความต้องการค่อนข้างแปลก คือ“ต้องการอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ยืดหยุ่นแตกต่างกัน

ตอบสนองต่อเวลาไม่เฉพาะวันนี้ และต้องใช้งานได้ทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพ” สถาปนิกจึงตีโจทย์บ้านซึ่งแสดงสถาปัตยกรรมที่ปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและชีวิต เป็นบ้านสองชั้นผสมผสานระหว่างคอนกรีต ไม้ กระจก มีบันไดเดินเข้าสู่ดาดฟ้าได้โดยตรง

ระหว่างขั้นตอนการก่อสร้าง จะเห็นว่างานหลัก ๆ จะมีสองส่วนคือ ส่วนฐานรากและองค์ประกอบของบ้านหลัก ๆ จะเป็นวัสดุคอนกรีตเปลือย แล้วค่อยเติมส่วนที่เลือด้วยไม้และกระจก

บ้านสไตล์มินิมอล ญี่ปุ่น

ทีมงานชั่งน้ำหนักระหว่างความแตกต่างและความแข็งแกร่งของคอนกรีต และความอบอุ่นเป็นมิตรของไม้อย่างพิถีพิถัน รวมถึงในแง่ของพื้นผิวและความทนทาน ตามแผนภาพรวมใหญ่ของบ้านหลังนี้ ต้องการการทำให้บ้านน่าอยู่ในปัจจุบัน และพร้อมสำหรับอนาคต ดังนั้นรากฐานต้องทนทานต่อการสึกหรอได้ดี เช่น โครงสร้างคอนกรีตที่อาจยืนยาวอยู่ในบ้านได้นับสิบนับร้อยปี ก็เลือกใส่ในจุดที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรง

อาทิ ฐานราก บันได ซุ้มประตูเป็นโครงหลัก ๆ สามารถใช้เป็นรากฐานสำหรับบ้านใหม่ สนามเด็กเล่น หรือเวทีสำหรับการแสดงในอนาคต ส่วนโครงสร้างที่สามารถขยายหรือรื้อถอนได้ภายในไม่กี่ปีหากมีความจำเป็นต้องขยับขยายปรับเปลี่ยนก็ใช้งานไม้เป็นหลัก บันไดคอนกรีดที่ต่อเชื่อมกับซุ้มประตูโค้ง ถึงจะไม่มีสีสัน รูปแบบเรียบๆ แต่กลับกลายเป็นจุดสนใจที่ชวนให้โฟกัสสายตาในกลางบ้าน

หลังจากส่วนคอนกรีตเรียบร้อย สถาปนิกก็เติมให้ส่วนหลังคาและผนังล้อมอยู่ระหว่างฐานรากเพื่อให้เกิดช่องว่างภายใน ไม่มีเสาบ้าน ให้พื้นที่บ้านเชื่อมต่อกันอย่างหลวมๆ ไม่มีขอบเขตที่แน่นอนเหมือนบ้านที่มีเสาแล้วก่อห้องปิดทึบแยกเป็นห้องเล็กห้องน้อย ซึ่งวิธีนี้จะทำให้บ้านยืดหยุ่น

สามารถเปลี่ยนรูปแบบการใช้งาน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงตารางกิจกรรมรายวันที่อาจไม่เหมือนกัน บ้านในอากิชิมะนั้นจึงเรียบง่ายแต่มีประโยชน์ใช้สอย การจัดวางและห้องต่างๆ ให้ความอบอุ่นเรียบง่ายซึ่งครอบครัวสามารถกลับบ้านมาใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย

ผนังในส่วนที่เป็นงานไม้อัด ไม่ได้หมายความว่าไม่แข็งแรง เพราะหากเลือกไม้อัดไส้ไม้ที่มีความหนาตามสเปคการใช้งาน จะสามารถรองรับน้ำหนักได้ไม่แพ้ไม้แท้ และยังสามารถดัดโค้ง ตัด ใช้งานได้หลายรูปแบบ หากวันไหนสมาชิกในบ้านเพิ่มขึ้น ผนังที่ไม่จำเป็นก็สามารถรื้อถอนได้ง่ายโดยไม่กระทบต่อโครงสร้างหลักของบ้าน

สีเทาและพื้นผิวของคอนกรีต หากใช้ในบริเวณกว้างเกินไปก็อาจดูแข็งกระด้าง เมื่อถูกจับคู่กับไม้ทำให้ความอบอุ่นมาลดทอนความดิบได้อย่างลงตัวพอดี บันไดที่ตั้งอยู่นอกบ้าน ตามหลักฮวงจุ้ยจะเรียกว่า “บันไดโจร” ซึ่งอาจจะเป็นเพราะบันไดนอกบ้านเป็นช่องทางที่มิจฉาชีพจะเข้าถึงตัวบ้านบริเวณชั้นบนได้ง่าย การทำบันไดด้านนอกมีข้อดีตรงที่สามารถขึ้นลงได้โดยไม่ต้องเดินผ่านลัดเข้าไปในตัวบ้าน จึงยังคงความรู้สึกเป็นส่วนตัว แต่ก็ต้องแน่ใจว่าบ้านมีระบบความปลอดภัยของประตูหน้าต่างอย่างดี

แบบที่ 2 บ้านโมเดิร์นมินิมอลสไตล์ญี่ปุ่น

บ้านโมเดิร์นมินิมอลสไตล์ญี่ปุ่น

บ้านสไตล์ญี่ปุ่น อุ่นใจทุกครั้งที่มอง โครงการบ้านจาก LITTLE HOUSE PECAN แม่น้ำคู้ 3 ระยอง เป็นโครงการบ้านเดี่ยวและบ้านแฝดสไตล์ญี่ปุ่น ดีไซน์ภายนอกไม่หวือหวา เน้นผนังโทนสีขาวสะอาดตาและงานไม้ตัดด้วยกระเบื้องหลังคาสีเข้ม เมื่อได้มองมาก็รู้สึกเหมือนจิตใจจะสงบลงได้อย่างง่ายดาย ด้านหน้ามีสเปซโล่ง ๆ

สำหรับทำเป็นที่จอดรถหรือนั่งเล่นอเนกประสงค์ในช่วงกลางวันได้ ผนังด้านข้างแอบซ่อนฟังก์ชันตู้เก็บของแบบแนบเนียน แม้จะมีความเรียบง่ายแต่ออกแบบมาให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่สะดุดตาตั้งแต่ด้านหน้า คือ ประตูที่เชื่อมระหว่าง 2 บ้าน เป็นซุ้มคอนกรีตสีขาวใส่ประตูไม้บานคู่ตีระแนงซี่เล็ก ๆ คล้ายประตู senbon-koshi (หมายถึง ระแนงนับพัน เพราะประกอบด้วยไม้ซี่เล็ก ๆ) แบบช่างญี่ปุ่นดั้งเดิมสนามหญ้าวางทางเดินคอนกรีตสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นระยะ ติดผนังจัดสวนกระบองเพชรโรยด้วยกรวดเหมือนทะเลทรายจำลอง เพิ่มลูกเล่นน่ารัก ๆ

ด้วยช่องแสงวงกลมใส่ระแนงไม้บนผนัง เป็นการออกแบบพื้นที่กลางแจ้งโดยผสมผสานเส้นสายเรขาคณิตและหลายๆ องค์ประกอบจากหลาย ๆ ภูมิภาคของโลกได้อยางน่ามอง

ห้องนั่งเล่นสาดบรรยากาศญี่ปุ่น ภายในบ้านแต่ละหลังมีการแบ่งฟังก์ชันหลายรูปแบบต่าง ๆ มีทั้งชั้นเดียวหรือการแบบที่ยกระดับแบ่งพื้นที่ใช้ร่วมกันและแยกห้องส่วนตัวไว้ในส่วนที่สูงกว่า จัดวางเลย์เอ๊าต์ใหม่ที่ดูโปร่งโล่งและใช้สะดวกสบาย

เพื่อให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ แต่สิ่งที่เหมือนๆ กันทุกหลังคือการเลือกสีและเฟอร์นิเจอร์จะเป็นสีกลาง ๆ อาทิ ขาว ครีม น้ำตาล เทา เฉดล้อไปกับธรรมชาติ และฟอร์มเป็นแบบมินิมอลเส้นสายเรขาคณิตเรียบง่ายแต่ดูโมเดิร์น โดดเด่นกับม่านมู่ลี่ไม้ ผลลัพธ์คือความเรียบง่ายอย่างมีสไตล์และให้ความรู้สึกอบอุ่น ขาว ๆ และสีไม้มีความเป็นโฮมมี่

สิ่งที่บ่งบอกถึงความรู้สึกของญี่ปุ่นในแบบบ้านสมัยใหม่ นอกจากงานไม้ไม่ทำสี ระแนงไม้ ม่านมู่ลี่ไม้ ยังมีเบาะนั่งกับพื้นที่มาคู่กับโต๊ะญี่ปุ่นเตี้ย ๆ ที่ให้ความรู้ถึงติดดินอ่อนน้อมถ่อมตัว ซึ่งเป็นหนึ่งเอกลักษณ์ของบุคลลิกความเป็นญี่ปุ่นที่ยังส่งต่อมาทุกยุคสมัย

ตกแต่งภายในบ้านโดยเน้นให้มีความรู้สึกแบบญี่ปุ่น

ในบ้านแต่ละหลังจะตกแต่งโดยเน้นให้มีความรู้สึกแบบญี่ปุ่นผ่านของตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์ในระดับที่ไม่เท่ากัน บางหลังเฟอร์นิเจอร์โครงสร้างเหล็กมีเส้นตรงเส้นโค้ง นำเสนอความเรียบง่ายและทันสมัยแบบญี่ปุ่นสไตล์โมเดิร์นมินิมอล โทนสีหลากหลาย แต่บางหลังจะเน้นความเป็นญี่ปุ่นดั้งเดิมที่เป็นผู้ใหญ่ โทนสีขรึม ๆ ใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้และเส้นสายตรงไปตรงมาขึ้นมากอีกนิด บ้านหรู

ครัวแสนน่ารักและอบอุ่น ครัวในฝันสำหรับคุณแม่บ้านที่ชื่นชอบความน่ารัก ด้วยขนาดกะทัดรัดและการใช้สีขาวเป็นหลักตกแต่งด้วยงานไม้ให้ดูโฮมมี่ มีครบฟังก์ชันที่จำเป็นต้องใช้ เคาน์เตอร์ครัวในตัวอย่างนี้แบ่งเป็น 2 ด้าน แยกฟังก์ชันเคาน์เตอร์หนึ่งสำหรับล้าง เตรียมอาหาร เตาแก๊ส เหนือศีรษะเป็นตู้เก็บของเล็ก ๆ ส่วนอีกด้านหนึ่งมีช่องว่างใต้เคาน์เตอร์ซ่อนชุดโต๊ะล้อเลื่อนดึงออกมาทานข้าว ดื่มกาแฟ และใช้งานอเนกประสงค์ได้

ห้องรับแขก

ที่นอนติดพื้นชวนสบาย ห้องนอนบรรยากาศชวนพักผ่อนสไตล์เอเชียที่คุ้นเคยกับการนอนแบบติดพื้น (floor bed) แต่ห้องนี้บิลท์ฐานเตียงยกขึ้นจากพื้นเหมือนเป็นเวทีไม้แล้ววางฟูกลงไปง่าย ๆ ให้สามารถใช้พื้นที่ว่างที่เหลือปลายเตียงนั่งเล่นได้ ข้างใต้มีฟังก์ชันเสริมเป็นช่องกล่องใส่ของเก็บของใช้ที่ไม่ต้องการให้รกตา เป็นการบริหารพื้นที่จัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ห้องดูแลทำความสะอาดง่ายไม่รกตา

คอนเซ็ปต์หลักของการแต่ง บ้านสไตล์มินิมอล คือ Less is More ภายในบ้านจึงต้องมีที่ว่าง โปร่ง โล่ง เฟอร์นิเจอร์ไม่ต้องเยอะแต่ฟังก์ชันต้องครบ เทคนิคที่ใคร ๆ ก็ยึดในการแต่งบ้านสไตล์มินิมอล คือ ใช้สีกลาง ๆ หรือเอิร์ธโทนให้ดูสบายตา, เฟอร์นิเจอร์รูปทรงเรขาคณิต, เลือกวัสดุเป็นไม้, ใช้ประตูบานเลื่อน

สิ่งสำคัญคือการออกแบบตกแต่งให้มีพื้นที่จัดเก็บอย่างเป็นระเบียบไม่รกตา อาจจะซ่อนฟังก์ชันจัดเก็บตามจุดต่าง ๆ อาทิ ผนัง ใต้บันได ใต้เตียง เป็นต้น ส่วนงานไม้สามารถใช้ได้หลายเฉดสี แต่ละสีก็ให้อารมณ์ต่างกัน ไม้สีเข้มจะดูเป็นผู้ใหญ่กว่า ถ้ามีไม้ที่สีเข้มเกินความต้องการก็อาจจะใช้เทคนิคการกัดสีไม้เพื่อให้สีอ่อนลงจะทำให้ได้อารมณ์ไม้ที่ดูทันสมัยขึ้น